อาการพีเอ็มเอส สำหรับผู้ป่วย โรคหัวใจและหลอดเลือด

อาการพีเอ็มเอส สำหรับผู้ป่วย โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตคืออะไร ความดันโลหิตเป็นแรงดันของเลือดที่กระทำต่อผนังหลอดเลือด จะวัดออกมาเป็นค่ามิลิเมตร ปรอทการวัดความดันจะวัดออกมา สองค่าคือ ค่าตัวบนหรือที่เรียกว่า Systolic เป็นความดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัว ส่วน Diastolic เป็นความดันตัวล่าง เป็นความดันโลหิตขณะที่ หัวใจคลายตัว ความดันโลหิตของคนเราจะขึ้นๆลงๆ เวลาหลับความดันโลหิตจะต่ำกว่าเวลาตื่นเต้น เวลาตกใจ กลัว ดีใจ เครียด เหนื่อย ความดันโลหิตจะสูงขึ้น ความดันโลหิตที่สูงไม่ยอมลงเรียกความดันโลหิตสูง

1. จำกัดไขมันและอาหารที่มีคอเลสเตอรอล
ผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีไขมันและโคเลสเตอรอลในเลือดสูง หรือคนที่ยังไม่เป็นโรคหัวใจแต่ไขมันในเลือดสูง การควบคุมอาหารประเภทไขมันจะช่วยลด และชะลอการตีบตันของหลอดเลือดหัวใจได้
รับประทานกรดไขมันอิ่มตัว (Saturated fat acid) น้อยลง
​กรดไขมันอิ่มตัวพบมากจากไขมันสัตว์ และไขมันจากพืชบางชนิด เช่น น้ำมันปาล์ม นำมันมะพร้าว กะทิ นอกจากนี้ยังพบได้ใน นม เนย ชนิดต่างๆ และผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปที่มีไขมันสูง เช่น ไส้กรอก เบคอน กุนเชียง หมูยอ แฮม
รับประทานกรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated fatty acid) ให้เพียงพอ
ควรจะรับประทานอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก น้ำมันข้าวโพด น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน
รับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอล (Cholesterol) สูงน้อยลง
อาหารที่มีปริมาณคอเลสเตอรอลสูงมักพบได้จากไขมันสัตว์ จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกขาหมู ข้าวมันไก่ หนังสัตว์ เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ติดมัน อาหารแปรรูป ไข่แดง อาหารทะเลบางชนิด เช่น กุ้ง ปลาหมึก หอยนางรม ยกเว้นเนื้อปลา เนื่องจากเป็นเนื้อสัตว์ที่มีไขมันและคอเลสเตอรอลต่ำ
นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงอาหาร ประเภท Fast Food เช่น พิซซ่า เบอร์เกอร์ ฯลฯ รวมทั้งผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ต่างๆ เช่น เค้ก คุกกี้ พาย โดนัท เป็นต้น

2. หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัด และหวานจัด
โดยการหลีกเลี่ยงหรืองดอาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น ซอสปรุงรส ผงชูรสต่างๆ
หลีกเลี่ยงอาหารดองเค็ม เช่น เนื้อเค็ม กุ้งแห้ง กะปิ ปลาเค็ม ผักดองเค็ม ผลไม้เค็มๆ
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวานจัด เช่น ขนมหวานต่างๆ น้ำหวาน น้ำอัดลม น้ำผลไม้ รวมทั้งผลไม้รสหวานจัด เช่น ทุเรียน ขนุน ลำไย น้อยหน่า ฯลฯ

3.เน้นอาหารที่มีเส้นใยสูง เป็นประจำ
อาหารที่มีกากหรือเส้นใยสูงมีประโยชน์กับสุขภาพ เนื่องจากช่วยลดการดูดซึมไขมัน ป้องกันท้องผูก ช่วยลดโอกาสเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และลดการเกิดโรคหัวใจได้
อาหารจำพวกข้าวที่มีเส้นใยมาก ได้แก่ ผักและผลไม้ ซีเรียล ข้าวโพด ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวิท จมูกข้าว หัวบุก เป็นต้น

4. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ น้ำอัดลม
เนื่องจากมีสารคาเฟอีน มีผลกระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ใจสั่น ความดันโลหิตสูง

5. งดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

ปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

เลือกอาหารที่ทำให้สุขภาพดี และลดการบริโภคอาหารหวานจัด เค็มจัด มันจัด
ควบคุมน้ำหนักตัว อย่าให้อ้วน โดยรักษาดัชนีมวลกายให้อยู่ระหว่าง 18.5 – 24.9 กก./ม2
ควบคุมความดันโลหิต < 140 /90 mmHg ในคนส่วนใหญ่ และ < 130/80 mmHg ในกลุ่มเฉพาะ ควบคุมระดับคอเลสเตอรอล < 200 มก./ดล. ควบคุมระดับไขมันแอลดีแอล - คอเลสเตอรอล (LDL Choresterol) <150 มก./ดล. ควบคุมระดับไตรกลีเซอไรด์ <150 มก./ดล. งดการสูบบุหรี่ และลดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ ออกกำลังกาย ทำจิตใจให้ร่าเริง แจ่มใส ลดความเครียด ปริมาณพลังงานที่เหมาะสม สำหรับในแต่ละเพศและวัย ผู้หญิงวัยทำงาน ผู้สูงอายุ ควรได้รับพลังงานวันละ 1,600 กิโลแคลอรี่ กลุ่มวัยรุ่นชายและหญิง ผู้ชายวัยทำงาน ควรได้รับพลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลอรี่ กลุ่มผู้ใช้แรงงาน เกษตรกร นักกีฬา ควรได้รับพลังงานวันละ 2,400 กิโลแคลอรี่